Good Health Center

บทความสุขภาพ

alzheimer

รู้ดูแล… โรคอัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์ เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท สมองทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดความเสื่อมของสติปัญญา ความจำ ความคิด การมีเหตุผล ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ มีปัญหาด้านพฤติกรรมและทางจิต พบบ่อยในผู้สูงอายุ

อาการ

  1. ลืมเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ จำไม่ได้ว่าทำอะไรตรงไหน ลืมนัด ลืมชื่อคน ลืมเหตุการณ์ที่พึ่งผ่านมา
  2. ขาดสมาธิเป็นครั้งคราว ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เมื่อทำกิจกรรมค้างไว้จะลืมว่าทำกิจกรรมนั้นอยู่
  3. คิดแบบนามธรรมไม่ได้ เช่น เมื่อพูดถึงชื่อสิ่งของแต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร
  4. วางของผิดที่ ผิดตำแหน่ง เช่น เก็บเสื้อผ้าในตู้เย็น
  5. อารมณ์แปรปรวน และพฤติกรรมเปลี่ยนไป
  6. บุคลิกภาพเปลี่ยนไปตามอายุและอาการ สับสน ระแวง เงียบไม่มีสาเหตุ หรือแสดงออกที่ไม่สมควร
  7. มีปัญหาด้านการสื่อสาร ใช้คำพูดผิด
  8. ลืมวัน เวลา และสถานที่ ไม่รู้ว่ากำลังไปไหน กลับบ้านไม่ถูก
  9. ไม่สามารถตัดสินใจเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือตัดสินใจผิดพลาด

ปัจจัยเสี่ยง

  1. ผู้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีอายุเฉลี่ย 65-80 ปี
  2. ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ มียีนบางอย่าง เช่น ApoE4 เป็นต้น
  3. ผู้ที่ตรวจพบโปรตีนบางชนิด เช่น อะไมลอยด์ (amyloid) และ ทาว (tau) มากกว่าปกติ
  4. ผู้ที่ใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์อย่างไม่สม่ำเสมอ
  5. สตรีที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
  6. การขาดสารแอนติออกซิแดนต์ ที่ผสมอยู่ในวิตามินต่าง ๆ และแคลเซียม
  7. ผู้ที่สมองได้รับการกระทบกระเทือนจนทำให้หมดสติ
  8. ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นดาวน์ซินโดรม
  9. การได้รับสารอะลูมิเนียมมากเกินไป ทำให้สารนี้เข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อของสมองในสภาพพยาธิ ทำให้เพิ่มอันตรายต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์

การป้องกันและดูแลเบื้องต้น

  1. การทานฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้
  2. สารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในวิตามินซีและอี จะช่วยป้องกันสมองและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้เสื่อมช้าลง ชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ วิตามินอี ในน้ำมันพืช ถั่ว ธัญพืช และผักใบเขียว ช่วยการแข็งตัวของเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ส่วนวิตามินซี ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อและเร่งผลิตเซลล์ใหม่ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการจับตัวกันระหว่างโมเลกุลที่จะเป็นสารทำลายเนื้อเยื่อ
  3. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะส่งผลดีต่อร่างกายแล้ว ยังดีต่อสมองด้วย
  4. การอ่านหนังสือ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ เล่นเกม หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นประจำ ช่วยป้องกันเส้นประสาทในสมองให้เสื่อมช้าลง ลดความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือหากแม้จะเป็นโรคนี้แล้ว การเพิ่มกิจกรรมประจำวันเข้าไป จะช่วยทำให้อาการดีขึ้น
  5. จากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง ทำให้เกิดการสูญเสียความทรงจำ ไม่เข้าใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ผู้ที่ดูแลต้องจัดสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิดและเรียบง่าย รับฟังเวลาผู้ป่วยพูด พูดให้ช้าและชัดเจน ระวังไม่ให้ผู้ป่วยออกนอกบ้านเพื่อป้องกันการหลงทาง
  6. ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมีอาการรุนแรง มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ ก้าวร้าว จำไม่ได้ว่าเคลื่อนไหวร่างกายอย่างไร ผู้ดูแลต้องช่วยทำกายภาพบำบัด ผู้ป่วยอาจกลืนอาหารไม่ได้จนต้องให้อาหารทางสายยาง ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ผู้ดูแลต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและเอาใจใส่ให้มากกว่าเดิม

GHC สุขภาพดี คุณสร้างได้ . . .

MedShroom ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน จากเห็ดทางการแพทย์ โดดเด่นด้วยคุณค่าแห่งโภชนเภสัชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยา ภายใต้งานวิจัยสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ