Good Health Center

บทความสุขภาพ

cancer

รู้ทัน… โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง หรือแบ่งตัวแบบกระจายอย่างรวดเร็ว โดยอาจลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญภายในร่างกายได้ โรคมะเร็งเป็นโรคที่ไม่ติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง แต่โรคมะเร็งบางชนิดอาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หากมีประวัติบุคคลในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็ง สมาชิกในครอบครัวอาจมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป

โรคมะเร็งปากมดลูก

อาการ

  1. ระยะแรกเริ่มไม่แสดงอาการให้ปรากฏ
  2. มีเลือดออกทางช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์
  3. ประจำเดือนมามากหรือมาบ่อยผิดปกติ มีตกขาว กลิ่น และสีผิดปกติ
  4. ถ้าลุกลามมากขึ้น จะปวดท้องน้อยหรือปัสสาวะบ่อย
  5. ถ้าเป็นมาก กระเพาะปัสสาวะจะทะลุได้

ปัจจัยเสี่ยง

  1. มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  2. มีความสัมพันธ์กับชายหนุ่มหลายคน
  3. ติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) หรือเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) มาก่อน
  4. ปากมดลูกผิดปกติ

การป้องกันและการดูแลเบื้องต้น

  1. มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุ 20 ปีไปแล้ว
  2. หลีกเลี่ยงการมีความสัมพันธ์กับชายหนุ่มหลายคน
  3. รักษาความสะอาดจุดซ่อนเร้นให้สะอาด
  4. เมื่อตกขาวมากกว่าปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งไม่ใช่ประจำเดือน ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
  5. หญิงสาวที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ควรตรวจภายในเพื่อหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละครั้ง สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
โรคมะเร็งเต้านม

อาการ

  1. คลำเจอก้อนเนื้อขนาดเล็กที่เต้านม แสดงถึงอาการเริ่มแรกของมะเร็งเต้านม แต่จะไม่มีอาการเจ็บปวด ตรวจพบในระยะนี้มีโอกาสรักษาหายขาดได้
  2. เริ่มมีอาการเจ็บที่เต้านม เพราะก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น รูปร่างเต้านมเปลี่ยนแปลง โดยเต้านมจะโตขึ้น ผิวหนังเกิดรอยบุ๋ม และเริ่มมีสะเก็ด
  3. เชื้อมะเร็งกระจายไปตามกระแสเลือด และไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยง

หญิงสาวที่เริ่มมีประจำเดือนมาเร็วตั้งแต่อายุยังน้อย หรือหมดประจำเดือนตอนอายุมาก รวมถึงผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีโอกาสเสี่ยงเช่นกัน ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมสูง ได้แก่ ความอ้วน ความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จัด เป็นต้น

การป้องกันและการดูแลเบื้องต้น

  1. ถั่วเหลือง มีโปรตีนสูง สามารถป้องกันการก่อนตัวของมะเร็งเต้านม
  2. ผักและผลไม้สด อุดมไปด้วยอนุมูลอิสระและวิตามินซี ควรกินให้ได้วันละ 5 ส่วน จะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ทอดมัน ไก่ทอด และปาท่องโก๋ เพราะมีส่วนทำให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ และยังเกิดโรคอ้วนอีกด้วย
  4. เลือกเสื้อชั้นในที่มีขนาดเหมาะสม ไม่หลวมหรือคับเกินไป และไม่สวมเสื้อชั้นในขณะนอนหลับ เพื่อให้ทรวงอกได้พักผ่อนบ้าง
  5. หมั่นนวดหน้าอกบ่อย ๆ จะช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ลดการอุดตันของเลือดและต่อมน้ำเหลืองในทรวงอก อีกทั้งการนวดหน้าอกทุกวัน หากมีสิ่งผิดปกติก็จะสามารถค้นพบและรักษาได้ทันท่วงที
  6. ตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ สามารถตรวจได้ทุกวัน ช่วงที่เหมาะสมที่สุด คือ ช่วง 7 วันหลังมีประจำเดือน เพราะเต้านมจะไม่ตึงจนเกินไป และง่ายต่อการตรวจ
โรคมะเร็งปอด

อาการ

มะเร็งปอด เกิดขึ้นบริเวณหลอดลมของปอด เป็นมะเร็งที่มีความรุนแรง ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวว่าป่วย เพราะโรคนี้ไม่แสดงอาการใด ๆ ให้สงสัยแม้แต่นิดเดียว เมื่อเชื้อเริ่มลุกลาม จะมีอาการไอแห้ง ๆ เรื้อรัง หายใจไม่เต็มที่ เนื่องจากอากาศเดินทางเข้าออกไม่สะดวก ผู้ป่วยจะรู้สึกหายใจเหนื่อยหอบ น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว มีไข้ต่ำแบบไม่ทราบสาเหตุ ถ้ามะเร็งลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด จะมีอาการไอเป็นเลือด

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคมะเร็งปอด คือ บุหรี่ ไม่ใช่แค่ผู้ที่สูบบุหรี่เท่านั้นที่มีโอกาสเสี่ยง ผู้ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่ของผู้อื่นก็มีโอกาสเสี่ยงเช่นกัน นอกจากนี้ มลภาวะที่ซ่อนตัวอยู่ในอากาศ เช่น ควันพิษจากรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงสารเรดอน ที่กระจายอยู่ในเหมืองแร่ และสารแอสเบสตอล ที่กระจายอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมอุปกรณ์เครื่องยนต์ ก่อสร้าง และสิ่งทอ เป็นปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคมะเร็งปอด

การป้องกันและการดูแลเบื้องต้น

  1. เลิกสูบบุหรี่
  2. ดื่มน้ำบริสุทธิ์มาก ๆ จะช่วยขับนิโคตินออกมา ทำให้ความอยากบุหรี่หายไปได้ และการดื่มชาหญ้าดอกขาว จะทำให้การสูบบุหรี่ไม่อร่อยเหมือนเดิม
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายวันละ 30-60 นาที เพียง 4-5 วัน จะช่วยขจัดอาการลงแดงจากการเลิกบุหรี่ให้หายไปได้
  4. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีมลภาวะเป็นพิษ
  5. กินผักผลไม้ทุกวัน อาหารที่ให้วิตามินสูง จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด
  6. งดรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  7. งดดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอดเช่นกัน
โรคมะเร็งตับ

อาการ

มะเร็งตับ แรกเริ่มจะไม่ปรากฏอาการใด ๆ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ว่าตนเป็น จนเมื่อมีความรู้สึกแน่นท้อง ท้องผูก อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลง มีอาการปวดหรือเสียดบริเวณชายโครงด้านขวา คลำเจอก้อนเนื้อ เริ่มตัวเหลือง ท้องโต และขาบวม เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยง

  1. ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี มีอัตราความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับสูง
  2. ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีความเสียงเป็นมะเร็งตับเช่นกัน
  3. สารอะฟลาท็อกซิน ที่ปนอยู่ในถั่วลิสง แป้ง พริกแห้ง กระเทียม เต้าเจี้ยว เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ
  4. อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ และนำไปสู่มะเร็งตับในที่สุด

การป้องกันดูแลเบื้องต้น

  1. ฉีดวัคซีนห้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่ยังเด็ก
  2. เลิกดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ
  3. เลิกรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า ปลาแจ่ว เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งตับเช่นเดียวกัน
  4. ไม่รับประทานอาหารค้างคืน เพราะอาจมีเชื้อราแอบแฝง
  5. หนุ่มสาวที่เป็นสิว อย่าทานยารักษาสิวมากเกินไป เพราะจะทำให้ค่าเอนไซม์ในร่างกายสูง และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ
  6. น้ำผักผลไม้ ให้วิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ดี

GHC สุขภาพดี คุณสร้างได้ . . .

MedShroom ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน จากเห็ดทางการแพทย์ โดดเด่นด้วยคุณค่าแห่งโภชนเภสัชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยา ภายใต้งานวิจัยสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ