Good Health Center

บทความสุขภาพ

diabetes

รู้รอบ… โรคเบาหวาน

หากรับประทนอาหารไม่ถูกหลักหรือทานมากเกินไป แล้วเกิดภาวะที่อาหารถูกแปลงสภาพเป็นน้ำตาล แต่ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ทั้งหมด จะทำให้น้ำตาลหลงเหลือในเลือดมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีน้ำตาลปรากฏในปัสสาวะ และมีอาการปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน

โรคเบาหวาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) โรคเบาหวานชนิดต้องพึ่งอินซูลิน พบมากในคนรูปร่างผอม เนื่องจากน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว เบาหวานชนิดนี้จะขาดอินซูลิน เพราะตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ อาการของโรคจะรุนแรงและกะทันหัน ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมน้ำตาลทุกวัน และ 2) โรคเบาหวานชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน เบาหวานชนิดนี้ตับอ่อนยังสามารถสร้างอินซูลินได้บ้าง หรือมากเกินความจำเป็น อาการมีตั้งแต่แสดงอาการจนถึงขั้นรุนแรง ผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดนี้สูง

อาการ

  1. ปัสสาวะบ่อยครั้ง และมีปริมาณมาก เพราะมีน้ำตาลตกค้างอยู่ในกระแสเลือดและอวัยวะต่าง ๆ มาก ไตจึงกรองปัสสาวะออกมามากเช่นกัน
  2. น้ำหนักลด ผอมลง ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานให้ร่างกาย
  3. กระหายน้ำบ่อย และดื่มน้ำมาก เกิดภาวะขาดน้ำเนื่องจากร่างกายเสียน้ำจากการปัสสาวะ
  4. หิวบ่อย กินจุขึ้น แต่กลับผอมลง เนื่องจากร่างกายนำสารอาหารเข้าไปใช้ไม่ได้
  5. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง
  6. ปวดตามกล้ามเนื้อ และชาตามปลายมือปลายเท้า

ภาวะแทรกซ้อน

  1. ภาวะแทรกซ้อนทางตา กระจกตาเสื่อม เกิดแผลง่าย มีอาการเคืองตา น้ำตาไหล มองเห็นเป็นภาพซ้อน ตามัว ความดันลูกตาสูง อาจทำให้เป็นต้อหิน หรือตาบอดได้
  2. ภาวะแทรกซ้อนทางไต เกิดการอักเสบของระบบขับถ่ายปัสสาวะ ติดเชื้อ ปัสสาวะบ่อย แสบ กระปริกะปรอย
  3. ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท อาการของเส้นประสาทเสื่อม เมื่อถูกความร้อน ของแหลม หรือสิ่งใดมากระทบ จะไม่รู้สึกเจ็บ นอกจากนี้ยังทำให้กล้ามเนื้อฝืด หนังตาตก เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ชีพจรเต้นเร็ว เป็นต้น
  4. ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้เกิดอาการเหนื่อย เจ็บหน้าอก หากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดอุดตัน จะทำให้เป็นอัมพาต เดินและพูดไม่ได้

ปัจจัยเสี่ยง

พบได้ในทุกเพศทุกวัย สาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ กรรมพันธุ์ โรคอ้วน การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด และพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร

การป้องกันและดูแลเบื้องต้น

  1. ควบคุมอาหาร งดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอลสูง เช่น น้ำมันหมู แคบหมู ขาหมู และไข่แดง หลีกเลี่ยง น้ำหวาน น้ำอัดลม และขนมหวาน จำกัดอาหารประเภท แป้ง ข้าว ก๋วยเตี๋ยว และผลไม้รสหวาน อาหารที่ควรทาน ได้แก่ประเภทใยพืช เช่น ผักใบเขียวทุกชนิด และอาหารไขมันน้อย เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ และเต้าหู้ เป็นต้น
  2. ออกกำลังกายอย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เลือกให้เหมาะสมกับอายุ ความถนัดความชอบ และเหมาะกับโรคประจำตัว อย่าลืมนำลูกอมติดตัวไว้เพราะตอนออกกำลังกายอาจทำให้น้ำตาลลดต่ำ ลูกอมจะช่วยให้น้ำตาลสูงขึ้นได้เร็ว
  3. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และบ้วนปากทุกครั้งหลังทานอาหารทุกครั้ง และควรตรวจสุขภาพช่องปากปีละ 2 ครั้ง อย่าให้มีโรคเหงือกและฟันเพราะจะทำให้การควบคุมเบาหวานยากขึ้น
  4. บริเวณซอกเท้าเป็นจัดที่มีโอกาสเกิดโรคเชื้อราได้ง่าย จึงควรดูแลรักษาเท้าและเล็บเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ เลือกรองเท้าพื้นนุ่ม ไม่บีบรัด มีช่องระบายอากาศ อาจสวมถุงเท้าเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและเกิดแผลได้

GHC สุขภาพดี คุณสร้างได้ . . .

MedShroom ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน จากเห็ดทางการแพทย์ โดดเด่นด้วยคุณค่าแห่งโภชนเภสัชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยา ภายใต้งานวิจัยสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ