ไวรัสตับอักเสบ เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ มีทั้งแบบติดต่อแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัส ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ A B C D E G TT และ SEN โดยไวรัสที่ติดต่อกันทางอาหารและน้ำ คือ A และ E จะหายไปเองโดยไม่แสดงอาการใด ๆ และปัจจุบันมักพบการติดเชื้อน้อยลง ส่วนไวรัสที่ติดต่อกันทางกระแสเลือด คือ B C D G TT และ SEN มักเป็นแบบเรื้อรัง เป็นสาเหตุของโรคตับแข็งและมะเร็งตับ ทำให้เสียชีวิตได้
อาการ
ไวรัสตับอักเสบ A
ทำให้เกิดการอักเสบของตับอย่างเฉียบพลัน ในสัปดาห์แรกจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อย คลื่นไส้ อาเจียน และเบื่ออาหาร จากนั้นจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตับโต และปัสสาวะมีสีเข้ม อาการจะหายไปเองภายใน 3-4 สัปดาห์ โดยไม่ต้องรักษา หลังจากไวรัสหายแล้วจะเกิดภูมิต้านทานถาวร ไม่กลับมาเป็นอีก
ไวรัสตับอักเสบ B
เมื่อได้รับเชื้อ 7-12 สัปดาห์ จะยังไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรก อาการที่แสดงถึงการอักเสบของตับที่เซลล์ตับถูกทำลาย เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และอาเจียน แต่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานที่ทำลายเชื้อไวรัสตับอักเสบ B ออกจากร่างกายได้ และจะมีภูมิต้านทานที่จะป้องกันไม่ให้เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ B อีกครั้ง แต่ถ้าร่างกายปล่อยให้ไวรัสตับอักเสบ B ทำลายเซลล์ตับเป็นระยะเวลานาน การอับเสบที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นตับแข็ง หากทิ้งไว้นานขึ้นอีกจะกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด
ไวรัสตับอักเสบ C
เป็นอาการเรื้อรัง ที่ตรวจพบแอนติเจนและสารพันธุกรรมของไวรัสตับอักเสบ C ในเซลล์ตับและเลือด เช่นเดียวกับไวรัสชนิดอื่น โดยภูมิต้านทานในร่างกายของเราจะตอบสนองการติดเชื้อไวรัส ทำให้เกิดการอักเสบของตับ แต่ระบบภูมิต้านทานจะไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำลายไวรัสตับอักเสบ C ให้ออกจากร่างกายได้
ปัจจัยเสี่ยง
ไวรัสตับอักเสบ A
ไวรัสตับอักเสบ A สามารถทนต่อความร้อนได้ ปนเปื้อนอยู่ในน้ำและอาหาร การป้องกันทำได้โดยการรักษาสุขอนามัยให้สะอาด รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุก ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ล้างมือให้สะอาดหลังสัมผัสสิ่งสกปรก ทำความสะอาดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้สะอาดอยู่เสมอ
ไวรัสตับอักเสบ B
การสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ สามารถติดต่อกันทางเลือดและน้ำเหลือง เช่น การติดเชื้อจากแม่สู่ลูก การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันผู้มีเชื้อ และการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อ เป็นต้น
ไวรัสตับอักเสบ C
เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบ B เกิดจากการสัมผัสเลือดและน้ำเหลือง การมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นต้น
การป้องกันและดูแลเบื้องต้น
- ผู้ที่พอกพูนไขมันไว้ในร่างกาย ทำให้การเผาผลาญในร่างกายไม่สมดุล ไขมันที่มีมากเกินไปจะเข้าไปแทรกแซงตับ กลายเป็นไขมันพอกตับ ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเป็นโรคตับแข็ง การลดน้ำหนัก เพื่อไม่ให้ตับมีไขมันไปทำลายเซลล์ตับ จึงจะควบคุมอาการตับอักเสบเรื้อรังได้
- หากมีโรคประจำตัว ตับจะทำงานหนักกว่าปกติ ควรพยายามควบคุมไม่ให้โรคกำเริบ จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นตับอักเสบได้
- มลภาวะรอบตัวที่มาจากท่อไอเสียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม ควรหลีกเลี่ยง ส่วนสารเคมีที่ใช้ในบ้าน เช่น ยาฆ่าแมลง สเปรย์ฉีดยุง น้ำยาทำความสะอาดบ้าน หรือแม้แต่แชมพู ยาสระผม น้ำยาปรับผ้านุ่ม ควรใช้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เพราะสารเหล่านี้สามารถทำร้ายตับได้
- หลีกเลี่ยงการกินตับสัตว์ทุกชนิด เพราะตับสัตว์เป็นแหล่งสะสมของสารเคมี ควรทานผักผลไม้ที่ปลอดสาร รวมถึงข้าวกล้อง ปลา และถั่ว
- งดอาหารประเภทไขมัน ถ้ากินมากตับจะทำงานหนัก งดอาหารขยะ เพราะมีไขมันอิ่มตัวสูง มีเกลือมาก มีผงชูรส สารกันบูด สารกันหืน และสารกันเชื้อรา ส่งผลต่อการทำงานของตับและไต เสี่ยงต่อการกำเริบของไวรัสตับอักเสบ
- งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะเป็นอันตรายต่อเซลล์ตับ ทำให้ตับอักเสบมากขึ้น
- ยารักษาโรคส่งผลกระทบต่อตับโดยตรง เช่น ยาพาราเซตามอล ถ้ากินมาก ๆ ทำให้ตับวายได้ ยาลดไขมัน ทำหน้าที่ดึงไขมันไปไว้ที่ตับ ทำให้ไขมันพอกตับ ยาเบาหวาน ยารักษาสิว ยาภูมิแพ้ ยาแก้อักเสบ แม้กระทั่งสมุนไพร ก็ส่งผลต่อตับด้วย
- การออกกำลังกายเป็นประจำ จะทำให้ภูมิต้านทานดีขึ้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด และไม่หักโหมทำงานหนักมากจนเกินไป
- อาจเสริมวิตามิน เกลือแร่ สมุนไพร และอาหารเสริม เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้สมดุล และเสริมความแข็งแรงแก่ร่างกาย
GHC สุขภาพดี คุณสร้างได้ . . .
MedShroom ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน จากเห็ดทางการแพทย์ โดดเด่นด้วยคุณค่าแห่งโภชนเภสัชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยา ภายใต้งานวิจัยสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ