หากดูจากภายนอก เราไม่สามารถรู้ได้ว่าใครป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพราะโรคนี้ไม่แสดงอาการ อีกทั้งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่คิดว่าโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นโรคที่ไม่หายขาด ต้องอาศัยการกินยาควบคุมตลอดชีวิต
อาการ
ระยะแรกจะไม่ปรากฏอาการ ส่วนอาการที่พบบ่อย คือ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง มักเป็นช่วงเช้า อาการจะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไปหลายชั่วโมง
ความดันโลหิตสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงทุกส่วนของร่างกายเสื่อม ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่ได้ เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ
- เริ่มด้วยอาการหายใจไม่ออก ไอ เนื่องจากเลือดไปคั่งในปอด แล้วไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ จึงมีอาการเจ็บและแน่นหน้าอก
- ความดันโลหิตทำให้สมองตีบตัน เป็นอัมพาต บางคนถึงขั้นเส้นเลือดในสมองแตก และเสียชีวิต
- เกิดภาวการณ์ตีบของหลอดเลือดแดงในตาอย่างช้า ๆ ต่อมาจะแตก มีเลือดออกที่จอตาหรือเรตินา ตาจะค่อย ๆ มัวลงเรื่อย ๆ จนตาบอดในที่สุด
ปัจจัยเสี่ยง
- เมื่อใดก็ตามที่ตกอยู่ในสถานการณ์แวดล้อมที่ทำให้สภาพจิตใจหงุดหงิด กังวล โกรธ จนเกิดเป็นความเครียด ฮอร์โมนอะดรีนาลีนในร่างกายก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น พร้อมกับความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นอีก และหากต้องตกอยู่ในสภาวะที่มีแรงกดดันสูงมากกว่าปกติ อาการเหล่านี้จะเร่งและซ้ำเติมให้รุนแรงยิ่งขึ้น จนทำให้เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตันได้
- เมื่อร่างกายเกิดความไม่สมดุลระหว่างโซเดียมและโพแทสเซียม ซึ่งแต่ละคนจะมีความไวต่อเกลือไม่เท่ากัน ร่างกายจะแสดงออกให้เห็นสภาพของการบวมตามตัว จนกลายเป็นแรงบีบอัดที่เส้นเลือดฝอยที่ต่างกัน
- การรับประทานอาหารที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูง จะทำให้คอเลสเตอรอลและไขมันไปเกาะที่ผนังเส้นเลือด จากนั้นแคลเซียมจะมาเกาะทับลงไปอีกชั้น พอทั้งสองรวมตัวกันจะจับตัวแข็ง หากก่อตัวกันเป็นจำนวนมากจะขวางทางกระแสเลือดให้ตีบ และทำให้ความดันหิตจะเพิ่มขึ้นตามมาด้วย
การป้องกันและดูแลเบื้องต้น
- อาหาร
เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ดังนี้
- อาหารที่มีไขมันและคอเรสเตอรอลสูง จำพวกของมัน ของทอด เป็นต้น
- อาหารที่มีเกลือจำนวนมากเป็นส่วนประกอบ เช่น กะปิ ซุปก้อน เบคอน ซอสถั่วเหลือง ไส้กรอก เนยแข็ง และผักกาดดอง เป็นต้น รวมถึงการประกอบอาหารแต่ละมื้อในครัวไทย จะใส่เครื่องปรุงรสหลากหลายรวมกัน ดังนั้นควรกำหนดปริมาณเกลือในอาหารไม่ให้มากเกินไป
- การเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปทุกครั้ง ควรดูฉลากที่ระบุว่า “Low Salt” หรือ “No Salt” ซึ่งหมายถึง มีประมาณโซเดียมต่ำ และควรมีปริมาณโซเดียมไม่เกิน 180 มก./บรรจุภัณฑ์
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิดที่มีส่วนผสมของเกลือโซเดียมประมาณสูง เช่น ยาธาตุน้ำแดง เป็นต้น
- ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเพิ่มแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น
อาหารที่ควรรับประทาน มีดังนี้
- ผักและผลไม้ อุดมไปด้วยแร่ธาตุและเส้นใยอาหาร เส้นใยในผักและผลไม้ช่วยลดคอเรสเตอรอลได้ดี
- รับประทานแครกเกอร์หรือขนมปังธัญพืช ประเภทโฮลวีต หรือข้าวกล้อง ยามท้องว่าง การย่อยอาหารประเภทนี้จะใช้เวลานาน เหมาะกับผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง
- เปลี่ยนจากกาแฟมาเป็นนมสดในตอนเช้า แคลเซียมในนมจะส่งผลดีต่อความดันโลหิต และยังเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงอีกด้วย
- ปลาเล็กปลาน้อย แหล่งรวมแคลเซียมชั้นยอด แถมมากไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ
- น้ำบริสุทธิ์จากธรรมชาติ น้ำผักผลไม้สดไม่เติมน้ำตาล และนมถั่วเหลือง
- ชาสมุนไพร เช่น หญ้าหนวดแมว หญ้าคา และขลู่ มีสรรพคุณในการขับปัสสาวะและลดความดันโลหิตสูง ดื่มวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
- กระเทียม ถั่วเหลือง และน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย ช่วยลดคอเรสเตอรอลในเลือดและลดการอุดตันไขมันในเลือด
- ขี้เหล็ก และระย่อมน้อย ช่วยคลายความเครียด อาการนอนไม่หลับ และลดความดันโลหิตสูงได้
- อากาศ
ฝึกลมหายใจ โดยสูดลมหายใจเข้าออกให้ลึก อากาศเข้าไปเต็มปอดจะไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์เต็มที่ ควรอยู่ในสถานที่ที่มีต้นไม้มาก ๆ จะทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น
- อารมณ์
- การฝึกสมาธิ ช่วยให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน โดยอาจกำหนดจิตไว้ที่ลมหายใจ จะทำให้จิตใจสงบลงได้
- การบำบัดด้วยกลิ่น หรือ อโรมาเธอราพี จะช่วยให้ผ่อนคลาย สามารถคลายความเครียดทั้งหลายให้หายได้
- การบริหารร่างกายด้วยโยคะ ช่วยให้มีสมาธิ คลายความเครียด และลดความดันโลหิตได้อีกด้วย
- ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที โดยสามารถเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเต้นแอโรบิก ตีกอล์ฟ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ วิ่ง หรือเดินเล่น แต่สิ่งที่ควรระวังคืออย่าออกกำลังกายหักโหม เพราะมีโอกาสที่ความดันลิตจะเพิ่มสูงขึ้นได้ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตตัวเองว่าการออกกำลังกายแบบใดเหมาะสมกับตน
GHC สุขภาพดี คุณสร้างได้ . . .
MedShroom ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน จากเห็ดทางการแพทย์ โดดเด่นด้วยคุณค่าแห่งโภชนเภสัชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยา ภายใต้งานวิจัยสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ