Good Health Center

บทความสุขภาพ

insomnia

รู้ยัง… โรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับ เป็นโรคความผิดปกติในการนอน อาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่รบกวนจิตใจและกระบวนการทำงานของร่างกาย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการ

  1. ไม่ง่วงเมื่อถึงเวลานอน หลับยาก นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ใช้เวลานานกว่าจะนอนได้
  2. นอนหลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ รู้สึกตัว ตื่นขึ้นกลางดึก ตื่นแล้วไม่สามารถกลับไปนอนหลับต่อไปได้อีก
  3. ง่วงนอนตลอดเวลาในตอนกลางวัน นอนไม่หลับในตอนกลางคืน
  4. ร่างกายอ่อนเพลีย ต้องการการพักผ่อน แต่นอนไม่หลับ อ่อนล้า หมดแรง ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า
  5. ไม่มีสมาธิ ทำงานผิดพลาด ความจำไม่ดี

ปัจจัยเสี่ยง

  1. ร่างกายมีอาการเจ็บป่วยของโรค หรือเจ็บปวดตามจุดและอวัยวะต่าง ๆ จึงทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับแทรกซ้อน หรือกรนขณะนอนหลับก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สัมพันธ์ต่ออาการนอนไม่หลับ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะหยุดหายใจเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และตื่นบ่อย ความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการเกร็งและการกระตุก อาจทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นกลางดึก นอนหลับไม่สนิทหรือนอนไม่หลับต่อได้อีกเลย รวมถึงผู้ที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะผลิตสารเซโรโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้นอนหลับได้ลดลง ส่วนผู้หญิงที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ การนอนไม่หลับเกิดจากฮอร์โมนและสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป
  2. ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หดหู่ หรือตื่นเต้นประหม่า จนเกิดเป็นความเครียด เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในร่างกาย ทำให้ไม่สามารถนอนหลับตามปกติได้
  3. สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม อาจรบกวนประสาทสัมผัสในขณะนอนหลับ เช่น เสียงที่ดัง แสงที่สว่างจ้า และการรับรู้กลิ่นต่าง ๆ ที่มากจนรบกวนสภาวะผ่อนคลายก่อนการนอนหลับ
  4. การเข้ารับการรักษาบางชนิดก็มีผลต่อการนอนไม่หลับ เช่น การทำเคมีบำบัดหรือคีโมในผู้ป่วยมะเร็ง ความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด เป็นต้น ส่วนการรักษาด้วยยาบางชนิดก็มีผลต่อการนอนไม่หลับเช่นกัน เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroids) คอร์ติโซน (Cortisone) เมทิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone) และเพรดนิโซน (Prednisone) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาอาการอักเสบของเส้นเลือดและกล้ามเนื้อ ยากลุ่มนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไต ส่งผลต่อประสาทการรับรู้และการตอบสนอง ทำให้ร่างกายตื่นตัวจนนอนไม่หลับ รวมถึงกลุ่มยาต้านเศร้า (Antidepressants) เช่น ซิตาโลแพรม (Citalopram) เอสซิตาโลแพรม (Escitalopram) และฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) เป็นยาที่ส่งผลต่อสารสื่อประสาทเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ควบคุมประสาทการรับรู้ ความรู้สึก และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การใช้ยาเหล่านี้อาจกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทให้ตื่นตัว จนอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ ดังนั้นการรักษาและใช้ยาบางชนิดจึงควรอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของแพทย์
  5. การนอนผิดเวลาไปจากเวลาปกติที่ร่างกายคุ้นเคย เช่น การทำงานเป็นกะ หรือการปรับตัวไม่ทันจากการเดินทางข้ามเขตเวลาโลก (Jet Lag) การกินอาหารที่มากเกินไปก่อนนอนทำให้นอนหลับไม่สบายตัว
  6. การดื่มและใช้สารเสพติด เช่น คาเฟอีนในกาแฟหรือชา นิโคตินในบุหรี่ และยาเสพติดต่าง ๆ ที่มีสารกดประสาททำให้นอนไม่หลับ รวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งแม้จะทำให้ผู้ดื่มง่วงนอนในตอนแรก แต่จะมีฤทธิ์กระตุ้นให้นอนหลับไม่สนิทหรือตื่นขึ้นมากลางดึกได้

การป้องกันและดูแลเบื้องต้น

  1. ปรับพฤติกรรมการนอน เข้านอนให้เป็นเวลา ไม่งีบหลับในระหว่างวัน และนอนเมื่อง่วงนอน ไม่กดดันตัวเองเพื่อให้นอนหลับ เพราะจะเกิดผลข้างเคียงเป็นความวิตกกังวลและทำให้นอนหลับยากยิ่งขึ้น ควรหากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำก่อนนอน เช่น การอ่านหนังสือหรือฟังเพลงเบา ๆ และนอนหลับให้เพียงพอตามความต้องการของวัย
  2. เปลี่ยนสภาพแวดล้อมของที่พักให้น่าอยู่อาศัย สงบ สบาย จัดห้องนอนให้มีความผ่อนคลาย มีอากาศถ่ายเทสะดวก และกำจัดสิ่งรบกวนในบริเวณห้องพัก
  3. รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัยและมีประโยชน์ทางโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่ดี ปราศจากโรคภัยและความเจ็บป่วย งดรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนเข้านอน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ใช้ยาที่มีสารกระตุ้นต่าง ๆ หรือยาเสพติด
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย ไม่ออกกำลังกายก่อนเข้านอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพราะอาจทำให้นอนหลับยากยิ่งขึ้น
  5. ลดความตึงเครียดจากการใช้ชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงการหมกมุ่นอยู่กับความคิดฟุ้งซ่าน ความวิตกกังวล ความขัดแย้งอันเป็นที่มาของความเครียด ควรเปลี่ยนมุมมองใหม่ ๆ ให้ชีวิต คิดในแง่บวก มองหาความสุขง่าย ๆ จากสิ่งรอบตัว เข้าใจชีวิต และรู้จักการปล่อยวาง

GHC สุขภาพดี คุณสร้างได้ . . .

MedShroom ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน จากเห็ดทางการแพทย์ โดดเด่นด้วยคุณค่าแห่งโภชนเภสัชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยา ภายใต้งานวิจัยสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ