Good Health Center

บทความสุขภาพ

Obesity

รู้ไว้… โรคอ้วน

ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินจากเกณฑ์มาตรฐาน เกิดจากการที่มีไขมันสะสมในปริมาณมากเกินความจำเป็น ทำให้การเผาผลาญไขมันในร่างกายไม่สามารถกำจัดออกมาได้ จึงทำให้เกิดภาวะอ้วน การหาค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI เป็นวิธีที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนในผู้ใหญ่อายุ 20 ปีขึ้นไปได้ มีวิธีคำนวณโดย ((น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ (ส่วนสูง (เมตร) × ส่วนสูง (เมตร)) ค่าที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-25 หากมากกว่านี้จะอยู่ในเกณฑ์อ้วน ซึ่งความอ้วนเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมาย

อาการและโรคแทรกซ้อน

  1. โรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากมีไขมันมากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อของปอดรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายไม่เต็มที่
  2. โรคเบาหวาน เนื่องจากเซลล์ไขมันบริเวณพุงจะทำเกิดการดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน
  3. โรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ระดับไขมันสูง ทำให้เกิดการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด หัวใจจึงขาดเลือด ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและล้มเหลวในที่สุด
  4. โรคหลอดเลือดสมองตีบ เมื่อไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อหลอดเลือดสมองตีบ และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาต
  5. โรคข้อเสื่อม การที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้กระดูกข้อเท้ารับน้ำหนักมาก จึงทำให้เกิดอาการปวดข้อ เมื่อเป็นในระยะเวลานาน น้ำหนักที่กดทับจะทำให้ไขข้อเสื่อม
  6. โรคมะเร็ง ผู้หญิงที่อ้วน เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งรังไข ส่วนผู้ชายที่อ้วน มีโอกาสเป็นมะเร็งสำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก
  7. โรคนอนกรน ไขมันจุกอก เวลานอนจะหายใจลำบาก ไม่สามารถนอนราบได้ตามปกติ

ปัจจัยเสี่ยง

  1. การรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย และทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ อาหารทอดอมน้ำมัน รวมถึงขนมหวาน ลูกอม นม เนย ช็อกโกแลต จนเป็นสาเหตุให้เกิดความอ้วน
  2. กรรมพันธุ์ ส่วนใหญ่พ่อหรือแม่ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ทำให้ลูกที่เกิดมามีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานไปด้วย
  3. การสังสรรค์ ไปงานสังคมบ่อย ทำให้ต้องทานอาหารมากกว่าปกติ
  4. ความเศร้า อาจทำให้การรับประทานอาหารเพื่อชดเชยทางอารมณ์ จึงทำให้มีน้ำหนักตัวมากขึ้น
  5. ขาดการออกกำลังกาย
  6. ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อต่าง ๆ หรือความผิดปกติของสมอง เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ ทำให้ร่างกายนำเอาพลังงานไปใช้ได้น้อยลง จึงทำให้กระบวนการเผาผลาญน้อยลงจนเกิดการสะสมของไขมันและเกิดความอ้วน หรือความผิดปกติของระบบควบคุมการอิ่มอาหารซึ่งอยู่ที่สมอง จะไวต่อการกระตุ้นระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าปริมาณน้ำตาลสูงถึงขีดกำหนด ศูนย์ควบคุมจะสั่งให้ร่างกายอิ่ม ถ้าศูนย์ควบคุมผิดปกติ จะทำให้หิวบ่อย กินไม่รู้จักอิ่ม และทำให้อ้วนในที่สุด

การป้องกันและดูแลเบื้องต้น

  1. ควบคุมอาหารและพฤติกรรมการกิน จำกัดปริมาณอาหาร และเลือกรับประทานให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรีสูง ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน หันมารับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น
  2. เคี้ยวอาหารช้า ๆ โดยเคี้ยว 50 ครั้งต่อคำ
  3. ดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำผักผลไม้คั้นสด แทนเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือน้ำอัดลม
  4. ออกกำลังกาย อย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญไขมัน

GHC สุขภาพดี คุณสร้างได้ . . .

MedShroom ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน จากเห็ดทางการแพทย์ โดดเด่นด้วยคุณค่าแห่งโภชนเภสัชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยา ภายใต้งานวิจัยสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ