โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่มีอาการเรื้อรัง มักเป็นที่ข้อเท้า ข้อมือ สะโพก หัวเข่า สังเกตได้ว่าจะเกิดกับข้อที่ต้องรับน้ำหนักและใช้งานมาก ผู้ที่มีอายุมากขึ้นจะเกิดความเสื่อมของข้อ จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำประจำวัน หากข้อได้รับการกดทับหรือแบกของหนักทุกวัน จะทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมเร็วขึ้น
อาการ
ผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อม จะมีอาการปวดในข้อ เช่น ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดคอ และปวดสะโพก เป็นระยะเวลานาน เวลาเคลื่อนไหวร่างกายจะมีเสียงกร๊อบแกร๊บ ส่วนใหญ่จะปวดเวลาเปลี่ยนอิริยาบถ มักเป็นตอนกลางคืน ถ้ามีอาการปวดมากจะมีอาการบวมร่วมด้วย
- ปวดข้อ หลังจากมีการใช้ข้อ แต่ถ้าได้พักข้อ อาการจะดีขึ้น ถ้าเป็นมากจะปวดตลอดเวลา
- ข้อฝืด เป็นอาการหลังจากพักข้อเป็นเวลานาน ทำให้เคลื่อนไหวไม่คล่อง โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน หากพักข้อนานเกินไปจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ดังนั้นไม่ควรพักข้อนานเกิน และเมื่อใช้ข้ออีกครั้งควรเริ่มใช้ข้อกับงานเบา ๆ ข้อฝืดอาจมีอาการปวดตึงเวลาอากาศเย็น
- ข้อเคลื่อนไหวน้อยลง เช่น ข้อเสื่อมที่นิ้ว ทำให้กำมือลำบาก ข้อเสื่อมที่สะโพก ทำให้เดินลำบาก และข้อเสื่อมที่คอและเอว ทำให้เกิดอาการชา
- ข้อบวม หรือข้อผิดรูปร่าง เนื่องจากมีน้ำซึมเข้าไปในกระดูก ทำให้เกิดอาการบวม
อาการปวดข้อส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุ เช่น กระดูกอ่อนของข้อถูกทำลายและเกิดการอักเสบ แต่จะไม่ปรากฏอาการปวดข้อ น้ำไขข้อไปกดทับหลอดเลือดและเส้นประสาท ทำให้มีของเสียอยู่ในน้ำไขกระดูก จึงเกิดการอักเสบ ผิวกระดูกอ่อนลง ทำให้มีอาการปวด เยื่อบุข้ออักเสบ ทำให้มีอาการปวด นอกจากนี้อาการปวดยังเกิดจากกระดูกขาดออกซิเจนบริเวณกระดูกใต้ข้อต่อกระดูกข้อ เพราะมีการปล่อยสารไปกระตุ้นปลายประสาท ทำให้ปวดข้อ กระดูกงอกออกทางด้านขอบของข้อ หรือด้านบนของข้อไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดเช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยง
ข้อเสื่อม ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ข้ออย่างหนักเป็นเวลานาน ยิ่งเข้าสู่วัยที่อายุมากขึ้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อกระดูกไปพร้อม ๆ กัน การได้รับบาดเจ็บจากการทำกิจกรรม ทำให้กระดูกอ่อนตรงผิวข้อต่อสึก กระดูกงอ ขรุขระ เวลาเคลื่อนไหวจึงมีอาการปวด นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ กรรมพันธุ์ อายุที่มากขึ้น ความอ้วน อาชีพที่ต้องใช้ข้อมาก เป็นต้น
การป้องกันและดูแลเบื้องต้น
- ฝึกบริหารกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อที่ปวด
- ควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้อ้วนเกินไป งดอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมัน ซึ่งจะทำให้เกิดความอ้วน
- หลีกเลี่ยงกิจกรรม หรืออิริยาบถที่ทำให้อาการปวดกำเริบ
- รับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุน อาหารที่มีแคลเซียมมากที่สุด คือ นมและปลาตัวเล็กตัวน้อย
- วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีมากในส้ม มะนาว และผลไม้รสเปรี้ยว ช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อน
- วิตามินบี 3 ช่วยเพิ่มพลังข้อและลดการอักเสบ ควรได้รับในประมาณที่เหมาะสม เพราะถ้ามากไปจะเป็นอันตรายต่อตับ
- วิตามินบี 5 ช่วยเผาผลาญอาหาร สร้างภูมิคุ้มกัน มีมากในไข่แดง ข้าวกล้อง ไตและตับ
- วิตามินอี มีมากในผักและผลไม้ ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลาย รวมถึงกระดูกและข้อด้วย
- กลูโคซามีนซัลเฟต ยับยั้งการสลายตัวส่วนประกอบของกระดูกอ่อน พบในเปลือกหอย เปลือกปู จึงมีการสกัดออกมาเป็นอาหารเสริมสำหรับข้อและกระดูก
GHC สุขภาพดี คุณสร้างได้ . . .
MedShroom ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน จากเห็ดทางการแพทย์ โดดเด่นด้วยคุณค่าแห่งโภชนเภสัชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยา ภายใต้งานวิจัยสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ