Good Health Center

บทความสุขภาพ

SLE

รู้สู้… โรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE

โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการทำงานระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ที่ควรจะมีปฏิกิริยาต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย แต่กลับมีปฏิกิริยาต่อต้านทำลายเนื้อเยื่อตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายตัวเองแทน จนเกิดเป็นอาการอักเสบเรื้อรัง และเกิดการเจ็บป่วย

อาการ

อาการจะมีทั้งแบบที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและแบบที่ค่อย ๆ แสดงอาการ ลักษณะอาการรุนแรงน้อยไปถึงรุนแรงมาก และอาจมีอาการป่วยเพียงชั่วคราว เมื่อได้รับการรักษา อาการก็จะหายไป หรืออาจมีอาการต่อไปอย่างถาวรแม้ได้รับการรักษาแล้วก็ตาม โดยอาการส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่

  • เหนื่อยล้า อ่อนแรง
  • มีไข้ ปวดศีรษะ
  • ตาแห้ง ตาบวม
  • มีผื่นแดงขึ้นตามใบหน้า
  • ปากเป็นแผล
  • ผมร่วง
  • นิ้วมือ นิ้วเท้าซีด
  • ผิวไวต่อแสงแดด
  • หายใจช่วงสั้น ๆ เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจเข้าลึก ๆ
  • ตัวบวม ขาบวม
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือปวดบวมตามข้อ ข้อต่ออักเสบ
  • มึนงง สมองและระบบประสาทได้รับความเสียหาย สูญเสียความทรงจำ
  • มีอาการทางประสาท เห็นภาพหลอน

ปัจจัยเสี่ยง

  1. พันธุกรรม การถ่ายทอดทางพันธุกรรมอาจส่งต่อลักษณะบางอย่างที่ทำให้มีโอกาสเป็นโรคได้
  2. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของเพศหญิงในช่วงตั้งครรภ์ หรือช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโต
  3. การติดเชื้อ การได้รับเชื้อต่าง ๆ อย่างไวรัสบางชนิด
  4. การใช้ยา ยาบางประเภท เช่น ยาต้านอาการชัก ยาปฏิชีวนะ และยากลุ่มควบคุมความดันโลหิต
  5. การได้รับสาร เช่น สารเคมี การสูบบุหรี่ และยาสูบต่าง ๆ
  6. แสงแดด สำหรับคนที่มีผิวไวต่อแดด การสัมผัสแสงแดดอาจทำให้เกิดรอยโรค และเป็นเหตุให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา

ภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยจนอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะและระบบต่าง ๆ ภายใน ได้แก่

  • เลือด อาจเกิดภาวะโลหิตจาง เสี่ยงต่อการเสียเลือด การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และการติดเชื้อในกระแสเลือด
  • ปอด อาจเกิดเยื่อหุ้มปอดอักเสบที่สร้างความเจ็บปวดในขณะหายใจ และเสี่ยงต่อปอดอักเสบได้
  • ไต อาจเกิดความเสียหายจากการอักเสบภายใน หรืออาจเกิดภาวะไตวายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  • หัวใจ อาจเกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดแดง และเยื่อหุ้มหัวใจ เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
  • สมองและระบบประสาทส่วนกลาง อาจเกิดอาการที่มีความรุนแรงน้อยไปจนรุนแรงมาก ตั้งแต่ปวดหัว เวียนหัว มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป มีปัญหาด้านความจำ ประสาทหลอน เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ตลอดจนเกิดภาวะชัก
  • การติดเชื้อในอวัยวะและระบบต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
  • กระดูกตายจากการขาดเลือด
  • การคลอดก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ และการแท้งลูก สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์

การป้องกันและดูแลเบื้องต้น

  1. ควบคุมอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้
  2. พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  3. ไม่สูบบุหรี่
  4. หลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสกับแสงแดด และสารเคมีเป็นพิษในชีวิตประจำวัน
  5. ออกกำลังกายอย่างพอดี หลีกเลี่ยงการใช้แรงหรือออกกำลังกายในขณะที่มีอาการกำเริบ
  6. รักษาสุขภาพจิต เรียนรู้วิธีการจัดการกับความเครียด

GHC สุขภาพดี คุณสร้างได้ . . .

MedShroom ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน จากเห็ดทางการแพทย์ โดดเด่นด้วยคุณค่าแห่งโภชนเภสัชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยา ภายใต้งานวิจัยสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ