อาการเลือดออกในสมอง แม้จะรอดชีวิต แต่ก็จะพิการได้ โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน การอุดตันของเส้นเลือดทำให้ลิ่มเลือดจับตัวเป็นก้อนกั้นกระแสเลือด ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มักจะมีปัญหาตั้งแต่อัมพฤกษ์อัมพาต จนกระทั่งเสียชีวิต และ 2) โรคหลอดเลือดสมองแตก ร้ายแรงมาก ส่วนใหญ่จะเสียชีวิต เพราะเส้นเลือดใหญ่มีการโป่งและทำให้มีความดันโลหิตสูง เลือดจะออกมากและเร็ว ทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันสั้น
อาการ
- แขนขาอ่อนแรง รู้สึกชาทันทีทันใด
- พูดไม่ออก พูดไม่ชัด ฉับพลัน
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ร่วมกับอาเจียน
- ตามัวกะทันหัน เห็นภาพซ้อนเหมือนมีม่านมาบังตา
- รู้สึกงุนงง เสียการทรงตัว
ผู้ป่วยที่อาการไม่มาก จะเป็นในหลอดเลือดขนาดเล็ก ทำให้สมองขาดเลือดชั่วขณะ ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด และความจำเสื่อมชั่วขณะ ต่อมาเมื่อเซลล์สมองเริ่มถูกทำลายไปบางส่วน ผู้ป่วยจะเป็นอัมพฤกษ์ แต่ถ้าได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เซลล์สมองและการทำงานของสมองหยุดชะงัก เรียกว่า อัมพาต ร่างกายไม่สามารถขยับหรือรับรู้ความรู้สึกได้ พูดและเปล่งเสียงออกมาจากลำคอไม่ได้ แม้แต่กระพริบตาก็ไม่สามารถทำได้
ปัจจัยเสี่ยง
- ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สูงที่สุดของผู้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง เพราะความดันโลหิตสูงสามารถทำให้เส้นเลือดในสมองแตก โดยมากความดันโลหิตสูงเกิดจากมีเลือดไหลเวียนในร่างกายเพิ่มขึ้น หัวใจสูบฉีดเลือดมากขึ้น การควบคุมเบื้องต้นทำได้ง่าย ๆ ด้วยการควบคุมอาหาร รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เน้นกินผักและผลไม้มาก ๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป ลดอาหารเค็ม และตรวจสุขภาพเป็นประจำ
- บุหรี่ มีสารนิโคตินที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น ตามด้วยความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่ร่วมกับการกินยาคุมกำเนิดยิ่งทำให้มีความเสี่ยงสูง การเลิกบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงลดลง
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ เลือดจะมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดในหัวใจเนื่องจากเลือดไม่เกิดการสูบฉีด หากได้รับยารักษา จะสามารถลดความเสี่ยงของหลอดเลือดสมองได้
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน มีอัตราเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองกว่าคนปกติ การควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดได้
- ภาวะไขมันในเลือดสูง เกิดจากการกินอาหารที่มีไขมันสูงเกินไป ทำให้หลอดเลือดยืดหยุ่นลดลง และแตกง่าย
การป้องกันและดูแลเบื้องต้น
- งดสูบบุหรี่
- เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้อ้วนเกินไป
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที หรืออาจทำงานบ้าน เดินหรือปั่นจักรยานแทนการใช้รถยนต์ ถือเป็นการออกกำลังกายได้อีกวิธีหนึ่ง
- ควบคุมอาหาร โดยเลือกทานอาหารอย่างเหมาะสม
- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ไขมันจากสัตว์ เช่น นม เนย และครีม เพราะทำให้ระดับคอเรสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น ส่วนไขมันที่ควรเลือกรับประทาน เช่น น้ำมันมะกอก และน้ำมันปลา จะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้
- เนื้อปลา อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
- ผักและผลไม้หลากสี มีสารไฟโตเคมิคอลและวิตามินหลากชนิด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
- ธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต หรือถั่วต่าง ๆ มีประโยชน์ในการลดคอเลสเตอรอลในเลือด และช่วยลดการดูดซึมไชมันเข้าสู่ร่างกาย
GHC สุขภาพดี คุณสร้างได้ . . .
MedShroom ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน จากเห็ดทางการแพทย์ โดดเด่นด้วยคุณค่าแห่งโภชนเภสัชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยา ภายใต้งานวิจัยสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ